วันพฤหัสบดีที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนวันที่ 21 กันยายน 2555

        วันนี้อาจารย์ให้ประเมินอาจารย์และบอกถึงเรื่องส่งงานว่าต้องทำอย่างไรบ้างและต้องเอาข้อมูลอะไรบ้างลงบล๊อกเกอร์


บันทึกการเรียนประจำวันที่ 7 กันยายน 2555

วันนี้อาจารย์แจกแผ่นประดิษฐ์ตัวอีกษรและสีไม้


บันทึกการเรียนวันที่ 14 กันยายน 2555

            วันนี้อาจารย์ให้กลุ่มที่ยังไม่ร้องเพลงให้ออกมาร้องและก็มีการเล่านิทานในแต่ล่ะกลุ่มที่จับฉลากได้กลุ่มของข้าพเจ้าได้ 
 เล่าไปวาดไปเรื่อง พระอาทิตย์ยิ้ม

ตัวอย่างการเล่าไปวาดไป





บันทึกการเรียน วันที่ 31 สิงหาคม 2555

                        วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาแต่งเพลงแล้วก็คิดท่าให้ออกมาทำหน้าชั้นเรียน
เพลงของกลุ่มดิฉันคือ เพลง เด็กดี
           เด็กๆ จ๋า     ใครจะเป็นเด็กดีช่วยยกมือขึ้นหน่อยซิ   โอ๊ะ โอ !!
           ใครจะเป็นเด็กดี    เจ้าจงรีบนั่ง    แล้วจง ตั้งใจ ตั้งใจ  ตั้งใจเรียน ...


อาจารย์ให้เพื่อนที่อยู่กลุมปฎิทินด้วยกันช่วยกันแต่งคำขวัญ ชวนเลิกเหล้า ........... มีดังนี้

                    1. กลุ่มอักษรกลาง สระอา พ่อจ่าเลิกเหล้าเลิกจน  ครอบครัวเป็นสุข
                    2.กลุ่มอักษรสูง สระอี  ดูซิ!! เลิกเหล้าชีวิตสดใส  ครอบครัวเป็นสุข
                    3. กลุ่มอักษรต่ำ สระแอะ  ดูซิกินเหล้าแล้วเมา  กินข้าวดีกว่า
                   4. กลุ่มอักษรกลาง  สระอิอี  กอดเหล้ามันแย่กอดแม่ดีกว่า
                   5. กลุ่มอักษรต่ำ สระอะอา  หยุดดื่มหยุดเมา  ทุกข์เราจะไม่มี
                   6. กลุ่มอักษาตำ  สระโอะโอ  คุณค่ะ!! กีฬาสร้างชีวิต  เหล้าเบียร์สร้างปัญหา
                   7. กล่มอักษรกลาง  สระอุอู พี่พี่!! เลิกเหล้าวันนี้  เพื่อชีวิตที่ดีในวันหน้า
                   8 . กลุ่อักษากลาง  สระเอะเอ  ผัวขา!!  เลิกเหล้าเพื่อครอบครัว  ดีกว่าเสียตัวไปมัวเมา
                   9. กลุ่มอักษรสูง  สระอะอา  เลิกเหล้าเลิกจน
                  10. สระ -  start ลด ละ เลิก  เพื่อเราเพื่อชาติ
                  11. สระ -
                  12. กลุ่มอักษณกลาง สระอะอา คุณแม่ขอร้องโตมาด้วยนำนมแม่  อย่าให้มันแย่เพราะนำเมา
                  13.กลุ่มอักษา  สูงสระโอะโอ (2)  เลิกเหล้ากันเถอะ
                  14. กลุ่มอักษร  สูงสระอุอู  ดื่มเหล้าตับแข็ง  เสียทั้งแรงเสียทั้งเงิน

เรียนชดเชย วันที่ 19 สิงหาคม 2555

กิจกรรมวันนี้คือ

1. ให้เลือกของที่ตนเองชอบที่สุดมาหนึ่งอย่าง พร้อมบอกเหตุผลว่าทำไมถึงเลือก
ข้าพเจ้าเลือกโทรศัพท์

เหตุผลที่เลือกโทรศัพท์มือถือคือ เป็นของสิ่งแรกที่ข้าพเจ้าทำงานเก็บเงินเพื่อนซื้อของสิ่งนี้ด้วยตนเองโดยไม่ต้องขอเงินแม่

2.ให้เลือกของขึ้นมาหนึ่งอย่างพร้อมโฆษณาสิ่งนั้น

ซื้อดินสอ Rotring วันนี้แถมฟรียางลบ

3.ให้นักศึกษาวาดรูปมาสองรูปแร้วให้เพื่อนทายว่าเป็นรูปอะไร

ปาก+กา = ปากกา

บันทึกการเรียนวันที่ 24 สิงหาคม 2555

วันนี้อาจารย์เปิดเพลงเกาะสมุยให้ฟังแล้วให้วิเคราะห์ว่า เพลงนี้ให้อะไรบ้าง วัตถุประสงค์ของเพลงนี้คืออะไร ฟังเพลงนี้แล้งรู้สึกอย่างไร
>>>เพลงนี้ให้ความรู้เกี่ยวกับเกาะสมุยว่าในเกาะนั้นมีคนมีน้ำใจ
>>> สำหรับตัวข้าพเจ้าคิดว่า วัตถูประสงค์ของเพลงนี้คือ แนะนำอยากให้ไปรู้ว่าเกาะสมุยมีอะไรทำไมคนถึงอยากไปเยอะ
>>>ฟังเพลงนี้แล้วรู้สึกอยากไปเที่ยวเกาะสมุย
                                                 
                                                       เพลง เกาะสมุย




รูปภาพเกาะสมุย






บันทึกการเรียนวันที่ 27 กรกฎาคม 2555

                      อาจารย์ให้แต่ล่ะกลุ่มออกไปนำเสนอที่ไปเล่านิทานให้น้องฟังและให้บอกพฤติกรรมของน้องและอาจารย์ก็มีการติชม


บันทึกการเรียนวันที่20 กรกฎาคม 2555

อาจารย์ให้จับกลุ่มไปเล่านิทานให้เด็กฟังโดยแบ่งดังนี้
นิทานเล่มเล็ก อนุบาล1 , 2 ,3  
Big book         อนุบาล1 , 2 ,3
VDO              อนุบาล1 , 2 ,3
โดยแบ่งกลุ่มล่ะชั้นเรียนและให้ไปเล่าให้น้องฟัง พร้อมกับสังเกตุพฤติกรรมของน้องและจดบันทึกไว้เมื่อเล่าจบให้ถามน้องๆ เกี่ยวกับนิทานที่เล่าและสังเกตพฤติกรรมของน้อง กุล่มของดิฉันได้ นิทานเล่มเล็กของอนุบาล 3


บันทึกการเรียนวันที่ 13 กรกฎาคม 2555


        ให้แต่ล่ะกลุ่มออกมานำเสนอผลงานของกลุ่มตนเอง


กลุ่มที่ 1 เรื่องพัฒนาการทางด้านภาษาของเด็ก 4 ขวบ 

กลุ่มที่ 2 เรื่องพัฒนาการทางด้านภาษาของเด็ก 3 ขวบ

กลุ่มที่ 3 เรื่องพัฒนาการทางด้านภาษาของเด็ก 2 ขวบ

กลุ่มที่ 4 เรื่องพัฒนาการทางด้านภาษาของเด็ก 6 ขวบ

กลุ่มที่ 5 เรื่องพัฒนาการทางด้านภาษาของเด็ก 9-11 ขวบ



เพิ่มเติม

พัฒนาทางภาษาของเด็กปฐมวัย
พัฒนาการภาษาพูด มีลำดับขั้น ตั้งแต่วัยทารก จนสิ้นสุดระยะวัยเด็กตอนต้น ดังนี้ 
ขั้นที่ 1 ขั้นปฏิกิริยาสะท้อน (Reflexive Vocalization)
การใช้ภาษาของเด็กในระยะนี้ คือ ตั้งแต่คลอดถึงอายุหนึ่งเดือนครึ่ง เป็นแบบปฏิกิริยาสะท้อนเทียบเท่ากับภาษาหรือการสื่อความหมายของสัตว์ประเภทอื่นๆ เสียงนี้เป็นไปโดยอัตโนมัติและไม่มีความหมายในขั้นแรก แต่เมื่ออายุราวหนึ่งเดือนล่วงแล้ว ทารกอาจเปล่งเสียงต่างกันได้ตามความรู้สึก เช่น ชอบ ไม่ชอบ ง่วง หิว ฯลฯ 
ขั้นที่ 2 ขั้นเล่นเสียง (Babbling Stage) 
อายุเฉลี่ยของทารกในขั้นนี้ ต่อจากขั้นที่ 1 จนถึงอายุราว 8 เดือน อวัยวะในการเปล่งเสียงและฟังของทารก เช่น ปาก ลิ้น หู เริ่มพัฒนามากขึ้น เป็นระยะที่ทารกได้ยินเสียงผู้อื่นและเสียงตนเอง สนุกและสนใจลองเล่นเสียง (Vocal Play) ที่ตนได้ยิน โดยเฉพาะเสียงของตนเอง แต่เสียงที่เด็กเปล่งก็ไม่มีความหมายในเชิงภาษา ระยะนี้ทารกทุกชาติทำเสียงเหมือนกันหมด แม้เสียงที่เด็กเปล่งยังคงไม่เป็นภาษา แต่ก็มีความสำคัญในกระบวนการพัฒนาการพูด เพราะเป็นระยะที่เด็กได้ลองทำเสียงต่างๆทุกชนิด เปรียบเสมือนการซ้อมเสียงซอของนักสีซอก่อนการเล่นซอที่แท้จริง
ขั้นที่ 3 ขั้นเลียนเสียง (Lalling Stage) 
ระยะนี้ทารกอายุประมาณ 9 เดือน เขาเริ่มสนุกที่จะเลียนเสียงผู้อื่น นอกจากเล่นเสียงของตนเอง ระยะนี้ประสาทรับฟังพัฒนามากยิ่งขึ้น จนสามารถจับเสียงผู้อื่นพูดได้ถี่ถ้วนยิ่งขึ้น ประสาทตาจับภาพการเคลื่อนไหวของริมฝีปากได้แล้ว จึงรู้จักและสนุกที่จะเลียนเสียงผู้อื่น ระยะนี้เขาเลียนเสียงของตัวเองน้อยลง การเลียนเสียงผู้อื่นยังผิดๆถูกๆและยังไม่สู้จะเข้าใจความหมายของเสียงที่เปล่งเลียนแบบผู้ใหญ่ เด็กหูหนวกไม่สามารถพัฒนาทางด้านภาษามาถึงขั้นนี้ ขั้นนี้เป็นระยะที่ทารกเริ่มพูดภาษาแม่ของตน
ขั้นที่ 4 ขั้นเลียนเสียงได้ถูกต้องยิ่งขึ้น (Echolalia)
ระยะนี้ทารกอายุประมาณ 1 ขวบ ยังคงเลียนเสียงผู้ที่แวดล้อมเขา และทำได้ถูกต้องมากยิ่งขึ้น เลียนเสียงตัวเองน้อยลง แต่ยังรู้ความหมายของเสียงไม่แจ่มแจ้งนัก
ขั้นที่ 5 ขั้นเห็นความหมายของเสียงที่เด็กเลียน (True Speech) 
ระยะนี้ทารกอายุตั้งแต่ 1 ขวบขึ้นไป ความจำ การใช้เหตุผล การเห็นความสัมพันธ์ของสิ่งที่ทารกได้รู้เห็นพัฒนาขึ้นแล้ว เช่น เมื่อเปล่งเสียง “แม่” ก็รู้ว่าคือ ผู้หญิงคนหนึ่งที่อุ้มชูดูแลตน การพัฒนามาถึงขั้นนี้เป็นไปอย่างบังเอิญ (ไม่ได้จงใจ) แต่ต่อมาจากการได้รับการตอบสนองที่พอใจและไม่พอใจ ทำให้การเรียนความสัมพันธ์ของเสียงและความหมายก้าวหน้าสืบไป
ในระยะแรก เด็กจะพูดคำเดียวก่อน ต่อมาจึงจะอยู่ในรูปวลีและรูปของประโยค ตั้งแต่ยังไม่ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ ไปจนถึงถูกหลักไวยากรณ์ของภาษานั้นๆ นักภาษาศาสตร์ได้ทำ การวิจัยทางเด็กที่พูดภาษาต่างๆทั่วโลก เห็นพ้องต้องกันว่า พัฒนาการทางภาษาตั้งแต่ขั้นที่หนึ่งถึงห้าข้างต้นอยู่ในระยะวัยทารก ส่วนระยะที่เด็กเข้าใจภาษาและใช้ภาษาได้อย่างอัตโนมัติเหมือนผู้ใหญ่นั้น อยู่ในระยะเด็กตอนต้นหรือช่วงปฐมวัยนั่นเอง ซึ่งพัฒนาการทางภาษาที่น่าสนใจก็คือ ความยาวของประโยค ยิ่งเด็กโตขึ้นก็จะยิ่งสามารถพูดได้ประโยคยาวขึ้น ซึ่งเป็นการบ่งบอกถึงความสามารถทางการใช้ภาษาของเด็กได้เป็นอย่างดี

นอกจากนี้ หากจะพิจารณารูปแบบของพัฒนาการทางภาษาในรูปแบบเชิงพฤติกรรม สามารถอธิบายเกี่ยวกับพัฒนาการทางภาษาของเด็กปฐมวัยแบ่งออกได้เป็น 7 ระยะ ดังนี้ คือ
1. ระยะเปะปะ (Random Stage) อายุตั้งแต่แรกเกิดถึง 6 เดือน ในระยะนี้พบว่าเด็กมี
การเปล่งเสียงอย่างไม่มีความหมาย
2. ระยะแยกแยะ (Jergon Stage) อายุ 6 เดือน ถึง 1 ปี ในระยะนี้เด็กจะเริ่มแยกแยะ
เสียงที่เขาได้ยินในสภาพแวดล้อมและแสดงอาการจดจำเสียงที่ได้ยินได้ เด็กจะรู้สึกพอใจถ้าหากเปล่งเสียงแล้วได้รับการตอบสนองทางบวก
3. ระยะเลียนแบบ (Imitation Stage) อายุ 1 ถึง 2 ปี เด็กวัยนี้สนใจและเริ่มเลียนแบบ 
เสียงของเด็กที่เปล่งจะเริ่มมีความหมายและแสดงกิริยาตอบสนองการได้ยินเสียงของผู้อื่น
4. ระยะขยาย (The Stage of Expansion) อายุ 2 ถึง 4 ปี เด็กวัยนี้จะเริ่มหัดพูดเป็น
คำๆ ระยะแรกจะเป็นการพูดโดยเรียกชื่อคำนาม เรียกชื่อคนที่อยู่รอบข้าง สิ่งของต่างๆที่อยู่รอบตัว รวมทั้งคำคุณศัพท์ที่เด็กได้ยินผู้ใหญ่พูดกัน
5. ระยะโครงสร้าง (Structure Stage) อายุ 4 ถึง 5 ปี การรับรู้และการสังเกตของเด็กวัย
นี้ดีขึ้นมาก ทำให้เด็กได้สังเกตการณ์ใช้ภาษาของบุคคลที่อยู่รอบข้าง และนำมาทดลองใช้ประสบการณ์ที่เด็กได้รับ เช่น การฟังนิทาน ดูรายการโทรทัศน์ เป็นต้น
6. ระยะตอบสนอง (Responding Stage) อายุ 5 ถึง 6 ปี พัฒนาการทางภาษาของเด็ก
วัยนี้จะเริ่มสูงขึ้น เพราะเด็กจะเริ่มเข้าเรียนในโรงเรียนอนุบาล เด็กได้พัฒนาคำศัพท์เพิ่มขึ้น รู้จักการใช้ประโยคอย่างเป็นระบบตามหลักไวยากรณ์ การใช้ภาษามีแบบแผนมากขึ้น
7. ระยะสร้างสรรค์ (Creative Stage) อายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป เด็กจะพัฒนา
ความสามารถทางภาษาได้สูงขึ้น สามารถจดจำสัญลักษณ์ทางภาษาได้มากขึ้น สำหรับด้านการพูด สามารถใช้ถ้อยคำที่เป็นสำนวน หรือคำที่มีความหมายลึกซึ้งได้

ระยะของพัฒนาการทางภาษาแสดงให้เห็นว่า ก่อนที่เด็กจะสามารถพูดคำแรกออกมา เช่น “แม่” “ป้อ” ฯ จนกระทั่งสามารถพูดเป็นประโยคได้นั้น เด็กต้องผ่านกระบวนการสำคัญของพัฒนาการหลายขั้นตอน ทักษะทางภาษาขั้นแรกของเด็ก คือ การร้องไห้ แม้ว่าระยะแรกเด็กจะยังไม่สามารถพูดได้ แต่ไม่ใช่ว่าจะเป็นช่วงเวลาของการสูญเปล่า แต่เด็กกำลังฝึกการควบคุมกล้ามเนื้อปากและลิ้นให้ทำงานประสานกัน สังเกตเห็นได้จากทารกแบเบาะจะอ้าปาก ขยับปากบ่อยครั้ง รวมถึงแลบลิ้น เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการพูดในอนาคต ทักษะสำคัญอย่างหนึ่งของเด็กก่อนการพูด คือ การมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น ซึ่งกระบวนการนี้ เด็กเรียนรู้ตั้งแต่ช่วงแรกๆของชีวิต และเมื่อเด็กอายุประมาณ 3 เดือน เด็กก็สามารถใช้ภาษาท่าทางในการสื่อสารกับบุคคลอื่นได้ โดยอาจใช้วิธีการทำเสียงต่างๆประกอบ จากนั้นเมื่อเด็กโตขึ้น พัฒนาการทางด้านภาษาของเด็กก็จะเพิ่มมากขึ้น ทั้งในด้านการพูด การเรียนรู้คำศัพท์ เป็นต้น

บันทึกการเรียน วันที่ 6 กรกฎาคม

                                     วันนี้ไม่มีการเรียนการสอนเพราะอาจารย์ให้ไปปรับปรุงงานมาใหม่ให้เป็นที่สนใจและในสัปดาห์ถัดไปให้ออกมานำเสนอ

บันทึกการเรียน วันที่ 29 มิถุนายน

                      วันนี้ไม่มีการเรียนการสอนแต่ครูมอบหมายงานให้แต่ล่ะกลุ่มไปศึกษาค้นค้วากับงานในแต่ล่ะกลุ่มที่ได้รับมอบหมาย
   

วันศุกร์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2555

บันทึกประจำวันที่ 15มิ.ย.2555

สภาพของห้องเรียนวันนี้ อินเตอร์เน็ตอาจจะช้านิดนึงแต่ก็พอทำได้ วันนี้เป็นคาบแรกที่เรียนจึงมีการสอนทำBlogger เพื่อเป็นแฟ้มสะสม